วันพุธที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

เช็คโรคจากอาการปวดท้อง

ใครที่มักจะปวดท้องบ่อยๆ แต่ไม่รู้ว่าปวดท้องเพราะอะไร มีวิธีการเช็คโรคจากอาการปวดท้องมาบอก...


ปวดท้องด้านขวาตอนบน ความเจ็บปวดในบริเวณด้านขวาตอนบนของช่องท้อง มักเกิดจากโรคตับและถุงน้ำดี


ปวดท้องบริเวณแอ่งกระเพาะอาหาร แอ่งกระเพาะอาหาร คือ บริเวณที่อยู่ใต้ซี่โครงลงมา การเจ็บปวดบริเวณนี้มักเกิดจากการแสบกระเพาะอาหารและอาการไม่ย่อย โรคกระเพาะและลำไส้อักเสบอาจเกิดขึ้นในบริเวณนี้ได้เช่นเดียวกัน บางครั้งโรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นที่ถุงน้ำดีก็อาจเกิดขึ้นในบริเวณส่วนท้องที่เป็นแอ่งได้


ปวดท้องส่วนกลาง ส่วนใหญ่มักเกิดจากสาเหตุมาจากโรคที่เกิดขึ้นที่ลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่ นอกจากนี้ อาการปวดท้องที่บริเวณนี้อาจเกิดจากไส้ติ่งอักเสบ ซึ่งมักเริ่มขึ้นที่บริเวณนี้ก่อนเสมอ แล้วจึงเลื่อนมาเป็นส่วนล่าง


ปวดท้องด้านซ้ายตอนบน อาจมีสาเหตุมาจากโรคต่างๆ ที่เกิดในลำไส้ใหญ่ เช่น โรคท้องผูกหรืออาการหดเกร็งของกล้ามเนื้อลำไส้ใหญ่ แต่หากมีอาการแสบกระเพาะอาหาร นั่นหมายถึงอาจเกิดจากกรดและอาการเจ็บปวดเนื่องจากแผลในกระเพาะ


ปวดท้องด้านขวาตอนล่าง อาจเป็นอาการของไส้ติ่งอักเสบอย่างเฉียบพลัน อาการอักเสบของลำไส้


ปวดท้องด้านซ้ายตอนล่าง อาการปวดที่เป็นลักษณะปวดและคลายสลับกันพร้อมกับอาการท้องร่วง หรือเกิดจากอาการท้องผูก อาจเกิดจากโรคถุงตันที่ลำไส้ใหญ่อักเสบ (Diverticulitis) ครั้งหน้าปวดท้อง อย่าลืมตรวจดูว่าอาการปวดท้องนั้นเกิดจากอะไร จะได้รักษาได้ถูกอาการ

14 วิธีเทคแคร์สุขภาพ & หัวใจ

จากสถิติของกระทรวงสาธารณสุขในปี 2545มีคนไทยที่เสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovacular Disease-CVD) เป็นจำนวนมากถึง32,896 คน หรือเฉลี่ยชั่วโมงละเกือบ 4 คน ในจำนวนนี้เพศชายมีโอกาสเสี่ยงมากกว่าเพศหญิง โดยมีตัวแปรสำคัญคือ อายุที่เพิ่มขึ้น, ประวัติในครอบครัวที่เป็นโรคนี้ (บิดา-มารดา และพี่น้องสายตรง), การสูบบุหรี่, คอเลสเตอรอลภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ (Dyslipidemia), ความดันโลหิตสูง, โรคเบาหวานและโรคอ้วน, ขาดการออกกำลังกาย อาการสำคัญของโรคนี้มักเกิดจากภาวะไขมันในเลือดที่ผิดปกติ ทำให้ผนังหลอดเลือดแดงแข็ง (Atherosclerosis) เกิดเป็นตะกรันเกาะตัวหนาตามผนังหลอดเลือด นานเข้าหลอดเลือดจะปริกะเทาะ กระตุ้นให้เกล็ดเลือดมาเกาะรวมตัวกันในบริเวณดังกล่าว ทำให้เกิดการอุดตันอย่างเฉียบพลันจนมีโอกาสเสียชีวิต อ่านอาการกันมาถึงบรรทัดนี้ หลายคนชักกลัวใจตัวเองจะเสียหาย อย่าเพิ่งตกใจไป เพราะเรามีคำแนะนำ 14 ข้อที่ทำง่าย ได้สุขภาพใจมากมายมาฝาก

1. เดินออกกำลัง 30 นาทีทุกวัน ช่วยลดโอกาสเป็นโรคเส้นเลือดหัวใจอุดตันได้ร้อยละ 30


2. ตรวจความดันเลือดเป็นประจำ และพยายามควบคุมให้ต่ำกว่า 115/75 ค่าความดันเลือดมีผลต่อความเสี่ยงโรคหัวใจมากกว่าไขมันในเลือด (คอเลสเตอรอล) การออกกำลังเป็นประจำและการลดไขมันรอบพุง (รอบเอว) มีส่วนช่วยลดความดันเลือดได้


3. กินถั่วเปลือกแข็งวันละ 1 กำมือ จำพวกถั่วอัลมอนด์ เฮเซลนัท ถั่วเปลือกแข็ง ช่วยลดการอักเสบ และเพิ่มคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) มีน้ำมันชนิดดีมาก (โอเมกา-3) โปรตีน และเส้นใย (ไฟเบอร์) ให้เลือกถั่วชนิดไม่เติมเกลือจึงจะได้ผลดี


4. ตรวจไขมันในเลือด และพยายามทำให้คอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) สูงกว่า 50 โดยการออกกำลังเป็นประจำ ใช้น้ำมันที่มีประโยชน์ เช่น น้ำมันมะกอก, น้ำมันคาโนลา, น้ำมันรำข้าว ปรุงอาหาร


5. ใช้ไหมขัดฟัน (Dental Floss) ทุกวัน เพื่อป้องกันคราบจุลินทรีย์ (Plaque) และโรคปริทนต์ หรือโรคเหงือก และเนื้อเยื่อรอบโคนฟันอักเสบ โรคปริทนต์ทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรัง การอักเสบเรื้อรังปล่อยสารเคมีไปในเลือด ทำให้เส้นเลือดเสื่อมเร็วขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อการทำงานของระบบหัวใจ


6. กินเนื้อมะเขือเทศบดสัปดาห์ละ 10 ช้อนโต๊ะ หรือกินมะเขือเทศใน รูปแบบอื่น เช่น น้ำมะเขือเทศ ฯลฯ เพื่อให้ได้โพแทสเซียม (Potassium/K) เพียงพอ โพแทสเซียมมีส่วนช่วยป้องกันโรคความดันเลือดสูง และมะเร็งต่อมลูกหมาก


7. กินกรดไขมันอิ่มตัวไม่เกินวันละ 20 กรัม และกินไขมันแปลงสภาพ (ทรานส์/Transfat) ให้น้อยที่สุด


8. อ่านฉลากอาหาร (Food Label) เลือกอาหารที่มีน้ำตาลต่ำ ไขมันต่ำ และเกลือต่ำ


9. กินผักและผลไม้วันละ 5 ทัพพี โดยเลือกให้มีสีหลากหลายต่างกันไปตามสีรุ้งได้แก่ ม่วง + คราม-น้ำเงิน + เขียว + เหลือง + แสดหรือส้ม + แดงและ สีขาว ซึ่งเป็นสีพืชพันธุ์เพื่ออายุยืนยาวได้แก่ หัวหอม, กล้วย


10. กินกระเทียมทุกวัน จากงานวิจัยพบว่า กระเทียมมีประโยชน์ต่อสุขภาพหัวใจ เช่นลดปริมาณของคอเลสเตอรอลในเลือด และผลการศึกษาจากประเทศเยอรมนี ยังระบุอีกว่ากระเทียมช่วยป้องกันและลดการเกาะตัวของคราบไขมันบริเวณผนังหลอดเลือดหัวใจ


11. ดื่มน้ำส้มเป็นปะจำ ผลวิจัยล่าสุดของ 'คลีฟแลนด์คลินิก' ระบุว่าการดื่มน้ำส้มวันละ 2 แก้ว ช่วยลดความดันโลหิตและช่วยสร้างสมดุลของระบบการทำงานในหัวใจได้ดี


12. กินชาดำซึ่งมีประโยชน์ต่อสุขภาพหัวใจ นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยบอสตัน สหรัฐ-อเมริกา กล่าวว่า การดื่มชาดำช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็น โรคหัวใจ เนื่องจากประกอบ ด้วยสารต่อต้านอนุมูลอิสระที่เรียกว่า ฟลาโวนอยด์ สารเคมีตัวนี้ช่วยป้องกันคอเลสเตอรอล ไม่ให้ทำลายเส้นเลือดที่หล่อเลี้ยงหัวใจ


13. บริโภคหัวหอม ถนอมสุขภาพหัวใจ เนื่องเพราะในหัวหอมประกอบด้วยสารคิวเซทิน (Quercetin) พฤกษเคมี ที่ช่วยป้องกันโรคภัยไข้เจ็บได้มากมาย และหนึ่งในคุณประโยชน์คือ ลดการอักเสบของผนังเส้นเลือดที่ทำให้เกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตัน โรคเส้นเลือดสมองแตก-ตีบตัน อัมพฤกษ์ อัมพาต


14. ดื่มชาเขียวเสมอ จากการศึกษาพบว่าสารสำคัญในชาเขียวมีอยู่ 2 ชนิดคือ แคททิชินและธีอะฟลาวินส์ สารเหล่านี้จะช่วยต้านอนุมูลอิสระ ยับยั้งการออกซิไดซ์ของแอล- ดีแอล คอเลสเตอรอลซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง ยับยั้งการสร้าง Cyclo Oxygenase ซึ่งเป็นสารสำคัญที่ทำให้เกิดการรวมตัวของเกล็ดเลือด จึงเท่ากับเป็นการช่วยลดโอกาสเกิดหลอดเลือดอุดตันจากลิ่มเลือด อันเป็นสาเหตุของอาการโรคหัวใจได้

100โรงเรียนที่มีชื่อเสียงทางด้านวิชาการ

100โรงเรียนที่มีชื่อเสียงทางด้านวิชาการ(วิทยศาสตร์ ศิลปศาสตร์ สังคมศาสตร์)แต่ทางสัมคมที่มีชื่อเสียงมานานเป็นที่ยอมรับทั้งในประเทศแต่ต่างประเทสวึ่งดูจากสถิติทุนกพ.ทุนพสวท.ทุนสสวท.ทุนวิทย์ทุนทางภาษาผลการสอบเข้ามหาลัยผลการสร้องชื่อเสียงให้กับประเทสทั้งทางวิชาการและสังคมรวมไปถึงรางวัลในประเทสเช่นโรงเรียต้นแบบ ครูต้นแบบ โรงเรียนรางวัลพระราชทาน ฯลฯ
1. เตรียมอุดมศึกษา กรุงเทพมหานคร
2. มหิดลวิทยานุสรณ์ นครปฐม
3. สวนกุหลาบวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร
4. บดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) กรุงเทพมหานคร
5. สามเสนวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร
6. สตรีวิทยา กรุงเทพมหานคร
7. เทพศิรินทร์ กรุงเทพมหานคร
8. สาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ฝ่ายมัธยม) กรุงเทพมหานคร
9. หาดใหญ่วิทยาลัย สงขลา
10. บุญวาทย์วิทยาลัย ลำปาง
11. มงฟอร์ตวิทยาลัยแผนกมัธยม เชียงใหม่
12. สาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพมหานคร
13. เซนต์คาเบรียล กรุงเทพมหานคร
14. อัสสัมชัญ บางรัก กรุงเทพมหานคร
15. สาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เชียงใหม่
16. กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร
17. หอวัง กรุงเทพมหานคร
18. สาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ ปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
19. ปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย เชียงใหม่
20. โยธินบูรณะ กรุงเทพมหานคร
21. ราชสีมาวิทยาลัย นครราชสีมา
22. ภูเก็ตวิทยาลัย ภูเก็ต
23. เบ็ญจะมะมหาราช อุบลราชธานี
24. ศึกษานารี กรุงเทพมหานคร
25. มหาวชิราวุธ สงขลา
26. อุดรพิทยานุกูล อุดรธานี
27. พิบูลวิทยาลัย ลพบุรี
28. นครสวรรค์ นครสวรรค์
29. เตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ กรุงเทพมหานคร
30. บดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) 2 กรุงเทพมหานคร
31. นวมินทราชินูทิศ บดินทร์เดชา กรุงเทพมหานคร
32. สามัคคีวิทยาคม เชียงราย
33. เซนต์โยเซฟคอนเวนต์ กรุงเทพมหานคร
34. สตรีวิทยา 2 กรุงเทพมหานคร
35. สาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) กรุงเทพมหานคร
36. ราชวินิตบางแก้ว สมุทรปราการ
37. สวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี นนทบุรี
38. อัสสัมชัญคอนแวนต์ กรุงเทพมหานคร
39. มาแตร์เดอีวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร
40. บุรีรัมย์พิทยาคม บุรีรัมย์
41. ชลราษฎรอำรุง ชลบุรี
42. จิตรลดา กรุงเทพมหานคร
43. ราชินี กรุงเทพมหานคร
44. สตรีวัดมหาพฤฒาราม กรุงเทพมหานคร
45. สายปัญญาในพระราชินูปถัมภ์ กรุงเทพมหานคร
46. สายน้ำผึ้ง กรุงเทพมหานคร
47. พระปฐมวิทยาลัย นครปฐม
48. สตรีสมุทรปราการ สมุทรปราการ
49. วัฒนาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร
50. วัดสุทธิวราราม กรุงเทพมหานคร
51. ขอนแก่นวิทยายน ขอนแก่น
52. สุรนารีวิทยา นครราชสีมา
53. ศึกษานารีวิทยา กรุงเทพมหานคร
54. แก่นนครวิทยาลัย ขอนแก่น
55. เบญจมราชาลัย กรุงเทพมหานคร
56. ยุพราชวิทยาลัย เชียงใหม่
57. จักรคำคณาทร ลำพูน
58. สระบุรีวิทยาคม สระบุรี
59. ราชินีบน กรุงเทพมหานคร
60. เบญจมราชูทิศ จันทรบุรี จันทรบุรี
61. สาธิตมัธยมมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ศึกษาศาสตร์) ขอนแก่น
62. เตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า กรุงเทพมหานคร
63. ดาราวิทยาลัย เชียงใหม่
64. อัสสัมชัญธนบุรี กรุงเทพมหานคร
65. นวมินทราชินูทิศ หอวัง นนทบุรี นนทบุรี
66. ปทุมคงคา กรุงเทพมหานคร
67. ราชินีบูรณะ นครปฐม
68. สตรีภูเก็ต ภุเก็ต
69. กาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม นครปฐม
70. เบญจมราชูทิศ นครศรีธรรมราช นครศรีธรรมราช
71. เบญจมราชรังสฤษฎิ์ ฉะเชิงเทรา
72. ร้อยเอ็ดวิทยาลัย ร้อยเอ็ด
73. นารีรัตน์ แพร่
74. สุรวิทยาคาร สุรินทร์
75. นวมินทราชินูทิศ เตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า กรุงเทพมหานคร
76. พิริยาลัย แพร่
77. สตรีสมุทรปราการ สมุทรปราการ
78. วัฒโนทัยพายัพ เชียงใหม่
79. เบญจมราชูทิศ ราชบุรี ราชบุรี
80. เฉลิมขวัญสตรี พิษณุโลก
81. สิรินธร สุรินทร์
82. บูรณะรำลึก ตรัง
83. สุรศักดิ์มนตรี กรุงเทพมหานคร
84. หาดใหญ่สมบูรณ์กุลกันยา สงขลา
85. ราชวินิตมัธยม กรุงเทพมหานคร
86. สตรีนนทบุรี นนทบุรี
87. วิสุทธรังษี กาญจนบุรี
88. สาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง กรุงเทพมหานคร
89. พระหฤทัยคอนแวนต์ กรุงเทพมหานคร
90. ปราจิณราษฎรอำรุง ปราจีนบุรี
91. สุราษฎร์ธานี สุราษฎร์ธานี
92. อัสสัมชัญสมุทรปราการ สมุทรปราการ
93. สตรีศรีน่าน น่าน
94. จุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง ตรัง
95. สาธิต"พิบูลย์บำเพ็ญ" มหาวิทยาลัยบูรพา ชลบุรี
96. ทวีธาภิเศก กรุงเทพมหานคร
97. ลำปางกัลยาณี ลำปาง
98. กัลยาณีศรีธรรมราช นครศรีธรรมราช
99. สวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต ปทุมธานี
100. นบุญโญปถัมภ์ ลำพูน

รายชื่อประเทศ

ประเทศในทวีปเอเชีย

สาธารณรัฐอิสลามอัฟกานิสถาน

ธารณรัฐอาร์เมเนีย

สาธารณรัฐอาเซอร์ไบจาน

ราชอาณาจักรบาห์เรน

สาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ

ราชอาณาจักรภูฏาน

เนการาบรูไนดารุสซาลาม

ราชอาณาจักรกัมพูชา

สาธารณรัฐประชาชนจีน

สาธารณรัฐไซปรัส

สาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์-เลสเต

สาธารณรัฐจอร์เจีย

สาธารณรัฐอินเดีย

สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน

สาธารณรัฐอิรัก

รัฐอิสราเอล

ญี่ปุ่น

ราชอาณาจักรฮัชไมต์จอร์แดน

สาธารณรัฐคาซัคสถาน

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี

สาธารณรัฐเกาหลี

รัฐคูเวต

สาธารณรัฐคีร์กีซ

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

สาธารณรัฐเลบานอน

มาเลเซีย

สาธารณรัฐมัลดีฟส์

มองโกเลีย

สหภาพพม่า

สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล

รัฐสุลต่านโอมาน

สาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน

สาธารณรัฐฟิลิปปินส์

ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย

สาธารณรัฐสิงคโปร์

สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา

สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย

สาธารณรัฐทาจิกิสถาน

ราชอาณาจักรไทย

สาธารณรัฐตุรกี

เติร์กเมนิสถาน

สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

สาธารณรัฐอุซเบกิสถาน

สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม

สาธารณรัฐเยเมน

รายชื่อประธานรัฐสภา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจุบัน

1. เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี

2. พันตรี วิลาศ โอสถานนท์

3. พลตรี ศิริ สิริโยธิน

4. เจ้าพระยาพิชัยญาติ

5. พลเอก พระประจนปัจจนึก

6. พลตรี ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปาโมช

7. นาย ประภาศน์ อวยชัย

8. นายประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์

9. นายอุทัย พิมพ์ใจชน

10. พลเรือตรี เจ้าพระยาศรยุทธเสนี

11. พลเอก หลวงสุทธิสารรณกร

12. พลอากาศเอก กมล เดชะตุงคะ

13. เจ้าพระยาธรรมาธิเบศ

14. นายทวี บุญยเกตุ

15. พลอากาศเอก หะริน หงสกุล

16. พระยามานวราชเสวี

17. พันเอก นายวรการบัญชา

18. นายจารุบุตร เรืองสุวรรณ

19. ศาสตราจารย์อุกฤษ มงคลนาวิน

20. นายมีชัย ฤชุพันธุ์

21. ศาสตราจารย์มารุต บุนนาค

22. นายบุญเอื้อ ประเสริฐสุวรรณ

23. นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา

24. นายพิชัย รัตตกุล

รายชื่อนายกรัฐมนตรีของไทยตั้งแต่อดีต-ปัจจุบัน

1.พระยามโนปกรณ์นิตธาดา

2.พระยาพหลพลพยุหเสนา

3.จอมพลแปลก พิบูลสงคราม

4.พันตรีควง อภัยวงศ์

5.นายทวี บุณยเกตุ

6.ม .ร.ว. เสนีย์ ปราโมช

7.นายปรีดี พนมยงค์

8.พลเรือตรีถวัลย์ ธำรงนาสวัสดิ์

9. นายพจน์ สารสิน

10.จอมพลถนอม กิติขจร

11.จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์

12.นายสัญญา ธรรมศักดิ์

13.ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช

14.นายธานินทร์ กรัยวิเชียร

15.พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทร์

16.พลเอกเปรม ติสูลานนท์

17.พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ

18.นายอานันท์ ปันยารชุน

19.พล.อ. สุจินดา คราประยูร

20.นายชวน หลีกภัย

21.นายบรรหาร ศิลปอาชา

22.พ.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ

23.พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร

24.นายสุรยุทธ์ จุลานนท์

25.นาย สมัคร สุนทรเวช

26. นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์

27. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

รายชื่อเขื่อนที่สำคัญในประเทศไทย

เขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก
เขื่อนสิริกิติ์ จังหวัดอุตรดิตถ์
เขื่อนศรีนครินทร์ จังหวัดกาญจนบุรี
เขื่อนวชิราลงกรณ์ (เขื่อนเขาแหลม) จังหวัดกาญจนบุรี
เขื่อนสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี
เขื่อนอุบลรัตน์ (เขื่อนพองหนีบ) จังหวัดขอนแก่น
เขื่อนจุฬาภรณ์ (เขื่อนน้ำพรม) จังหวัดชัยภูมิ
เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล จังหวัดเชียงใหม่
เขื่อนแม่ปิงตอนล่าง จังหวัดตาก
เขื่อนแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี
เขื่อนบางลาง จังหวัดยะลา
เขื่อนคีรีธาร จังหวัดจันทบุรี
เขื่อนลำตะคอง จังหวัดนครราชสีมา
เขื่อนลำพระเพลิง จังหวัดนครราชสีมา
เขื่อนปากมูล จังหวัดอุบลราชธานี
เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จังหวัดลพบุรี-สระบุรี
เขื่อนแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี
เขื่อนพระราม 6 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นเขื่อนแห่งแรกในประเทศไทย
เขื่อนรัชชประภา (เขื่อนเชี่ยวหลาน) จังหวัดสุราษฎร์ธานี
เขื่อนแม่กลอง จังหวัดกาญจนบุรี
เขื่อนท่าทุ่งนา จังหวัดกาญจนบุรี
เขื่อนขุนด่านปราการชล อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนครนายก
เขื่อนเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาท
เขื่อนกระเสียว จังหวัดสุพรรณบุรี